ระบบการศึกษา
โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตดำเนินการสอนแบบ Block Course โดยจัดให้นักศึกษาเข้าเรียนคราวละ 1 วิชาต่อเนื่องกัน ภาคการศึกษาละ 4 กระบวนวิชา ประมาณ 4 ภาคการศึกษาปกติ
- หมวดวิชาปรับพื้นฐาน จำนวน 2 วิชา
- หมวดวิชาบังคับบัณฑิตศึกษา จำนวน 1 วิชา
- หมวดวิชาแกนบังคับ จำนวน 8 วิชา
- หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 4 วิชา
- หมวดวิชาการค้นคว้าอิสระ จำนวน 1 วิชา
รวมทั้งหมด 15 วิชา
หมายเหตุ : นักศึกษาต้องเข้าเรียนทุกครั้งยกเว้นกรณีมีเหตุจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องมีเวลาเข้าเรียนแต่ละกระบวนวิชาไม่ต่ำกว่า 80 % จึงจะมีสิทธิเข้าสอบ และต้องเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามที่กำหนดไว้
วิธีการวัดผล
มหาวิทยาลัยจะจัดให้มีการวัดผลสำหรับกระบวนวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนไว้โดยจัดให้มีการสอบไล่ในแต่ละกระบวนวิชา หรือ อาจใช้วิธีการวัดผลโดยวิธีการอื่นที่เหมาะสมแทนการวัดผล และการประเมินผล ของแต่ละกระบวนวิชาใช้อักษรระดับคะแนนดังนี้
อักษรระดับคะแนน | ค่าอักษรระดับคะแนน |
---|---|
A | 4.00 |
A- | 3.67 |
B+ | 3.33 |
B | 3.0 |
B- | 2.67 |
C+ | 2.33 |
C | 2.00 |
D | 1.00 |
F | 0.00 |
ความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ มีดังนี้
สัญลักษณ์ | ความหมาย |
---|---|
S | ผลการศึกษาหรือการสอบเป็นที่พอใจ (satisfactory) ใช้สำหรับกระบวนวิชา ที่กำหนดให้มีการประเมินผลแบบไม่คิดระดับคะแนน |
U | ผลการศึกษาหรือการสอบไม่เป็นที่พอใจ (unsatisfactory) ใช้สำหรับ กระบวนวิชา ที่กำหนดให้มีการประเมินผลแบบไม่คิด ระดับคะแนนการวัดผล |
I | ไม่สมบูรณ์ (Incomplete)ใช้ในกรณีที่นักศึกษาปฏิบัติงานไม่ครบภายในเวลาที่ กำหนดไว้ หรือขาดสอบโดยมีเหตุผลสุดวิสัยบางประการ จะต้องมีการแก้ไขให้เป็นอักษรระดับคะแนนภายในภาคการศึกษาถัดไป มิฉะนั้น มหาวิทยาลัย จะเปลี่ยนสัญลักษณ์ I ให้เป็นอักษรระดับคะแนน F ทันที |
AU | ผู้ร่วมฟัง (auditor) ใช้สำหรับกระบวนวิชาที่ลงทะเบียนเพื่อร่วมฟัง |
X | ยังไม่ได้รับผล (no report) ใช้ในกรณีที่ยังไม่ทราบผลการเรียน |
W | การบอกเลิก (withdrawal)ใช้ในกรณีที่นักศึกษาขอบอกเลิกกระบวนวิชาที่ ลงทะเบียนไว้แล้ว ภายในเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด มีเวลาเรียนไม่ถึง 50% การเรียนไม่เป็นตามเงื่อนไขที่กำหนด |
การคำนวณเกรดเฉลี่ย
- ถ้านักศึกษาสอบได้ผลการศึกษาอักษรระดับคะแนน D, F หรือได้ U ถือว่าต่ำกว่ามาตรฐาน จะต้องลงทะเบียนเรียนวิชานั้นซ้ำ
- นักศึกษาต้องได้อักษรระดับคะแนนไม่ต่ำกว่า C- หากต่ำกว่าต้องลงทะเบียนเรียนในกระบวนวิชานั้นใหม่
- การนับหน่วยกิตสะสมกระบวนวิชาที่นักศึกษาได้อักษรระดับระดับคะแนน A, A-, B+, B, B-, C+, C และ C- จึงจะนับหน่วยกิตของกระบวนวิชานั้นเป็นหน่วยกิตสะสม นักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนกระบวนวิชาที่เคยสอบได้อักษรระดับคะแนน B หรือสูงกว่า เพื่อเพิ่มคะแนนเฉลี่ยสะสมอีกไม่ได้
ในกรณีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนกระบวนวิชาที่ระบุไว้ว่าเป็นกระบวนวิชาที่เทียบเท่ากัน ให้นับหน่วยกิตสะสม เฉพาะกระบวนวิชาหนึ่งกระบวนวิชาใดเท่านั้น
มหาวิทยาลัยจะคำนวณค่าคะแนนเฉลี่ยสะสมจากหน่วยกิต และอักษรระดับคะแนน ของกระบวนวิชาทั้งหมด ที่นักศึกษาได้ลงทะเบียนเรียน หากกระบวนวิชาใดลงทะเบียนเรียนมากกว่า 1 ครั้ง ให้นำมาคำนวณค่าเฉลี่ยสะสมทุกครั้ง การคำนวณค่าคะแนนเฉลี่ยสะสม ให้นำเอาผลคูณของจำนวนหน่วยกิต กับค่าอักษรระดับคะแนนทุกกระบวนวิชามารวมกัน แล้วหารด้วยผลบวกของจำนวนหน่วยกิตของกระบวนวิชาทั้งหมด ในการหารนี้ ให้มีทศนิยม 2 ตำแหน่ง โดยไม่มีการปัดเศษ
การสอบประมวลความรู้เป็นการสอบข้อเขียน และสอบปากเปล่า ในสาขาวิชาเฉพาะ และวิชาเอกฯ ที่เกี่ยวข้อง ผู้มีสิทธิสอบจะต้องสอบผ่านกระบวนวิชาครบถ้วนตามหลักสูตรแล้ว และมีคะแนนสะสมเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.0 โดยให้สอบในภาคการศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา นักศึกษาซึ่งสอบไม่ผ่านมีสิทธิสอบแก้ตัวได้ 1 ครั้ง
การสำเร็จการศึกษา
ในภาคการศึกษาสุดท้ายนี้ นักศึกษาคาดว่าจะสำเร็จการศึกษา ให้ยื่นคำร้องขอรับปริญญาตามหลักเกณฑ์ ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด โดยมหาวิทยาลัยจะเสนอชื่อเพื่อขออนุมัติปริญญาบัตรต่อสภามหาวิทยาลัยต่อเมื่อ
- สอบวิชาปรับพื้นฐานได้สัญลักษณ์ " S "
- ศึกษากระบวนวิชาครบตามหลักสูตร และเงื่อนไขของสาขาวิชานั้น
- มีผลการศึกษาได้แต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00
- นักศึกษาแต่ละคนมีโอกาสที่จะลงทะเบียนสอบประมวลความรู้ได้ จำนวน 2 ครั้ง เพื่อแก้ตัวสำหรับวิชาที่ยังไม่ผ่านในขณะที่ยังผ่านไม่หมดในครั้งแรกได้สัญลักษณ์ I
- ไม่มีหนี้ค้างชำระต่อมหาวิทยาลัย
- ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกลงโทษวินัยนักศึกษา