ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังต่อไปนี้
1.) ระบบการคัดเลือก/รับนักศึกษา ใช้ระบบคณะกรรมการซึ่งมีองค์ประกอบและหน้าที่ ในต่อไปนี้
1.1 คณะกรรมการรับนักศึกษา ประกอบด้วย
- คณะกรรมการอำนวยการหลัดสูตร 7 คน
- ผู้แทนจากสาขาวิชาที่ผู้สมัครเข้าศึกษาสาขาวิชาละ 1 คน
- ผู้แทนกรรมการสภามหาวิทยาลัย 1 คน
- ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกทั้งภาคเอกชนและภาครัฐภาคละ 2 คน
1.2 หน้าที่ของคณะกรรมการ มีดังต่อไปนี้
- พิจารณาประโยชน์/คุณค่าข้อเสนอวิทยานิพนธ์ที่มีต่อประเทศชาติ
- พิจารณาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
- พิจารณาความพร้อมทางวิชาการของนักศึกษา
- พิจารณาความพร้อมของบุคลากรในคณะวิชาที่จะทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างน้อย 1 คน
- พิจารณาศักยภาพในการหาบุคลากรภายนอกเป็นกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์อย่างน้อย 1 คน
-รายงานผลให้อธิการบดี และสภามหาวิทยาลัยทราบ
1.3 การรับนักศึกษา มีหลักพิจารณาดังต่อไปน ี้
- ใบสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตของนักศึกษาซึ่งระบุคุณสมบัติของนักศึกษาพร้อมทั้งตำแหน่งหน้าที่การทำงาน ความสามารถพิเศษหรือผลงานทางวิชาการ
- ข้อเสนอเบื้องต้นวิทยานิพนธ์ ผู้สมัครต้องทำข้อเสนอเบื้องต้นวิทยานิพนธ์ตามหัวข้อต่างๆที่กำหนดไว้เท่าที่สามารถกระทำได้
1.4 ผลการตัดสิน มี 3 ประเภท
- ไม่รับ
- รับ เข้าหลักเกณฑ์ทุกประการ
- รับโดยมีเงื่อนไขต้องปรับ/เสริมทางวิชาการ โดยให้ศึกษาเพิ่มในบางวิชาตามความเหมาะสมเพื่อให้มีความพร้อมทางด้านวิชาการในด้านที่ทำวิทยานิพนธ์
2.) ระบบการจัดการการเรียนการสอน
2.1 กระบวนการเรียนและการทำวิทยานิพนธ์
- สำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแบบ 1 จะมีคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์กำกับดูแล
- สำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือก/หรือสมัครเข้าเรียนตามหลักสูตรแบบ 2 ให้เข้าเรียนตามรายวิชาที่คณะกรรมการอำนวยการหลักสูตรพิจารณาว่าเหมาะสมตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร์
2.2 กิจกรรมทางวิชาการสำหรับนักศึกษา
- ในระหว่างการศึกษาให้นักศึกษาเสนอผลการศึกษาของตนในการประชุมสัมมนาทางวิชาการตามที่โครงการดุษฎีบัณฑิตศึกษาจะจัดขึ้น อย่างน้อย 4 ครั้ง ตามที่ระบุไว้หลักสูตร์
3.) การสอบป้องกันวิทยาวิทยานิพนธ์
ในการสอบป้องกันวิทยาวิทยานิพนธ์คณะกรรมการสอบป้องกันวิทยาวิทยานิพนธ์ แต่ละเรื่องจะประกอบด้วย
- อาจารย์/นักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น
- ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระของวิทยานิพนธ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
- ผู้แทนคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เป็นสักขีพยาน
4.) กิจกรรมอื่นๆของหลักสูตร
นักศึกษาอาจจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมอื่นที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาว่าเหมาะสมอาจจะต้องไปศึกษาดูงานเพิ่มเติมในประเทศหรือต่างประเทศในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ของตนตามที่คณะกรรมการของหลักสูตร พิจารณาดูว่าจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการทำวิทยานิพนธ์
5.) การปรับปรุงหลักสูตร
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรจะต้องดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศอย่างน้อยทุก 3 ปี