การประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ดำเนินการอย่างไม่เป็นทางการอยู่แล้วในคณะวิชาภาควิชาต่าง ๆ ของ มหาวิทยาลัย แต่เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีระบบและมีกลไกที่เหมาะสมสอดคล้อง ตามนโยบายของทบวงมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดให้มีการประกันคุณภาพภายในดังนี้
1. การควบคุมคุณภาพ
1.1. มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการและเตรียมกำหนด เกณฑ์มาตรฐาน เพื่อการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษา โดยครอบคลุมภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยที่กำหนดไว้ 4 ประการ
1.2. มหาวิทยาลัยพัฒนาระบบบริหารคุณภาพ เพื่อรับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย
- คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา
- คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในคณะ
- คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในคณะ
- คณะทำงานประสานงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในคณะ
- หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา
กลไกและหน่วยงานที่กล่าวนี้ ประกอบกันเป็นโครงสร้างหลักของระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปรากฏตามแผนภูมิดังนี้
โครงสร้างการบริหารการประกันคุณภาพทางวิชาการ
บทบาทและหน้าที่คณะกรรมการ
1. คณะกรรมการประกันคุณภาพทางวิชาการ เป็นกลไกหลักในการกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ เปิดโอกาสให้คณะต่างๆ มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายในเรื่องนี้ และดำเนินการมาตรการวิธีการอย่างอิสระ จัดทำคู่มือการควบคุมคุณภาพของมหาวิทยาลัย จัดให้มีการเผยแพร่ระบบประกันคุณภาพการศึกษาและประกาศวันเริ่มใช้ กำหนดมาตรฐานการตรวจสอบและการติดตามผล
2.คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณมีหน้าที่หลักในการกำหนดแนวทางและพัฒนาระบบที่เชื่อถือได้และอ้างอิงได้ทั่วไป 1 ระบบ ขั้นตอนการดำเนินการมาตรการวิธีการอย่างอิสระ ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพการของแต่ละคณะต่างกัน
3. หน่วยประสานงานการประกันคุณภาพศึกษาระดับคณะ มีหน้าที่ดำเนินการในทางปฏิบัติในการประกันคุณภาพศึกษาด้วยความร่วมมือและประสานงานกับระบบงานต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในระดับคณะวิชาอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นกลไกส่วนหนึ่งในการตรวจสอบและติดตามผลไปพร้อมๆ กัน
4. หน่วยประกันคุณภาพการศึกษาเป็นหน่วยจัดตั้งขึ้นภายในโดยให้บุคลากรในสังกัดหน่วยงานของมหาวิทยาลัยและงบประมาณที่มีอยู่เดิมในอนาคตจะต้องมีการจัดสรรอัตรากำลังและโครงสร้างการดำเนินการเป็นเฉพาะเพื่อ ให้การประกันคุณภาพการศึกษาดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพในการประสานงานด้านการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพและการประเมินคุณภาพ
2. การตรวจสอบคุณภาพ
2.1. ให้คณะรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นระยะๆเพื่อให้การประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2.2. พัฒนาระบบและเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในคณะวิชาต่างๆของมหาวิทยาลัยเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายความเป็นเลิศทางวิชาการ
3. การประกันคุณภาพภายใน
3.1. ให้มีการประเมินผลการทำงานของบุคลากรตามมาตรฐาน ภารกิจที่มหาวิทยาลัยกำหนด
3.2. ให้มีกระบวนการติดตามตรวจสอบคุณภาพของนักศึกษาขณะกำลังทำการศึกษา (ก่อนและหลังสำเร็จการศึกษา)
3.3. ให้มีการจัดทำคู่มือคุณภาพ คู่มือปฏิบัติวิธีการทำงาน และเอกสารแบบฟอร์มต่างๆ เพื่อใช้ในการประเมินผลและการประกันคุณภาพการศึกษา
3.4. ส่งเสริมให้ผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมิน
3.5. จัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยประเมินผลและสรุปผลตลอดจนป้อนข้อมูลย้อนกลับสู่ผู้บริหารและคณะเพื่อให้เห็นจุดอ่อนจุดแข็ง
3.6. เพื่อปรับคุณภาพทางการศึกษา
รูปแบบของการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
1. มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้คณะทุกคณะมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายในการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งระบบปริญญาตรีและระดับปริญญาโท โดยดำเนินการมาตรการวิธีการอย่างอิสระ ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพของแต่ละคณะแตกต่างกัน
2. คณะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้นชุดหนึ่งเพื่อดำเนินการจัดทำรายงานรวบร่วมข้อมูล ตามภาระงานหนักของคณะโดยใช้รูปแบบตัดสินคุณภาพการศึกษา เข้าองค์ประกอบ ดังนี้
ภาระงานหลัก
|
รูรูปแบบองค์ประกอบการประกันคุณภาพ
|
1. การผลิตบัณฑิต | 1. ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ นโยบาย |
2. การวิจัย | 2. การจัดการการเรียนการสอน |
3. การบริการทางวิชาการ |
3. การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา |
4. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม | 4. การวิจัย |
5. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม | 5. การบริการทางวิชาการ |
6. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม | |
7. การบริการจัดการ | |
8. การเงินและงบประมาณ | |
9. ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ |
4. การประกันคุณภาพภายนอก
การประกันคุณภาพภายนอก เป็นการดำเนินงานของทบวงมหาวิทยาลัยทีจะให้มหาวิทยาลัยมีคุณภาพ เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือยอมรับในสังคม และจะสามารถตรวจสอบจากภายนอกได้ โดยการสร้างองค์กรรับผิดชอบในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ระบบการตรวจสอบ และประเมินคุณภาพ พร้อมทั้งมีมาตรการในการพิจารณาตัดสินตามเกณฑ์ ที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนด